Plateau และ Burn-out สองศัตรูของนักเล่นกล้าม

plateau [N]: ที่ราบสูง, ช่วงของการเจริญเล็กน้อยหรือไม่เจริญ

ในการเล่นเวท หรือเพาะกายนั้น พัฒนาการของกล้ามเนื้อ ไม่ว่า ให้ใหญ่ขึ้น ให้ชัดขึ้น หรือ ให้ยกได้หนักขึ้น จะมีจุดอิ่มตัว

เสมือนเราไต่ภูเขาลูกหนึ่ง สูงขึ้นเรื่อยๆ เต็มไปด้วยอุปสรรค ขวากหนามและความยากลำบาก แต่จู่ก็จะมาเจอพื้นที่ราบสูง หรือ plateau ที่เป็นพื้นที่เรียบ ไม่มีความลาดชัน มีแต่ความเรียบเสมอสุดลูกหูลูกตา

Plateau คือระยะที่กล้ามเนื้อหยุดการพัฒนา กราฟความก้าวหน้า จากเดิมที่ไต่สูงขึ้นเรื่อยๆ จะลาดจะชันเท่าไรก็แล้วแต่ กลับกลายเป็นเส้นแนวนอน ซึ่งถ้าปล่อยไปนานๆ ก็จะเรื้อรัง เข้าสู่สภาวะ burn out ได้

แต่ไม่ต้องท้อถอยครับ มีวิธี

plateau graph

วิธีแก้ไข คือ ต้องออกกำลังกาย กระตุ้นกล้ามเนื้อด้วย วิธีการเล่นใหม่ๆ ท่าเล่นใหม่ๆ โปรแกรมการเล่นเวทใหม่ๆ เทคนิคใหม่ๆ เช่น

  • จากท่าที่ออกกำลังด้วยบาร์เบล ก็มาเล่นดัมเบลแทน หรือกลับกัน
  • ถ้ามี Power Tower ท่าที่เคยเล่นฟรีเวท ก็มาเล่น Smith Machine แทน หรือกลับกัน
  • ถ้ามี คู่ฝึก หรือ work-out partner ก็ใช้ลูกเล่นอย่างเช่น “I do, you do” จากโปรแกรมออกกำลังกายเดิม
  • และอื่นๆอีกมากมาย

ทั้งนี้ทั้งนั้น เป็นการปลุกกล้ามเนื้อ กระตุก กระตุ้น ให้กล้ามเนื้อให้ตื่นจากภวังค์ หรือให้เจริญเติบโตอย่างที่เราต้องการ

เมื่อรู้ตัวก็ต้องรีบแก้ไขครับ


burn out: เผาจนมอด, ทำให้เลิกไหม้: หยุดไหม้, (ความสามารถ) ไม่มีชีวิตชีวา. มอด, ไม่กระฉับกระเฉง, เหนื่อยล้าหมดแรง
burnt out matches

การเล่นเวท เล่นกล้าม ก็ไม่แตกต่างกับชีวิตประจำวัน มีวันดี ที่กระชุ่มกระชวย มีชิวิตชีวา และกำลังใจดี .... และวันที่ไม่ดี ที่อ่อนแรง เหนื่อยล้า และถดถอย

ซึ่งต้องบริหารจัดการตนเองกันไปครับ ทั้งชีวิตประจำวัน และออกกำลัง

แต่วิกฤตอาจเกิดขึ้นเสมอ ที่วันถดถอยเช่นนี้ เกินขึ้นซ้ำๆ เป็นวันที่ 2, 3, 4.... ที่เรารู้สึกไม่อยากไปฟิตเนสเซ็นเตอร์ หรือเข้าห้องยิมในบ้าน รู้สึกเบื่อๆเซ็งๆ

ที่คืออาการเรื่มต้นของ burn out ครับ

ทางแก้ ระดับ 1 คือ ถอยหลังหนึ่งก้าว คือ

  • เล่นน้ำหนักให้น้อยลง
  • ออกกำลังจำนวน set ต่อท่าเล่นให้น้อยลง
  • ออกกำลังจำนวนท่าเล่นต่อกล้ามเนื้อให้น้อยลง เป็นต้น

ทั้งนี้ทั้งนั้น เป็นการลดความกดดันตัวเอง ในยามที่ต้องเข้ายิม

ถ้าทางแก้ระดับ 1 ไม่ได้ผล ต้องใช้ทางแก้ระดับ 2 คือ

  • ตัดสินใจหยุดออกกำลังไปเลย (พักร้อน)

แต่ต้องให้คำมั่นสัญญา ต้องตกลงกันตนเองก่อน ว่าเราจะหยุดเล่นเวทไประยะเวลาเท่าไร เช่น 3 วัน 7 วันเป็นต้น

การกลับสู่การออกกำลังกายหลังจากพักแล้ว จะรู้สึกอยากเล่นขึ้นมาเอง กลับสู่สภาพเดิมๆที่เคยเป็น

ข้อควรระวัง พินิจพิเคราะห์ตนเองให้ดีครับ ว่าอาการนี้ไม่ใช่อาการเกลียดคร้าน ผัดวันประกันพรุ่ง หรือเบื่อหน่าย แต่เป็นการตัดสินใจที่เป็นเหตุเป็นผล มิฉะนั้น จะเป็นการหยุดยาว จากวันเป็นสัปดาห์ จากสัปดาห์เป็นเดือน จากเดือนเป็นปี

ถ้าทิ้งระยะนานเกินไป การกลับมาออกกำลังจะยากขึ้นเรื่อยๆ เป็นอัตราส่วนของการหยุดยาว ไม่แตกต่างกับการหยุดงานหลายๆวัน (เช่น ช่วงเทศกาล) ความรู้สึกจะขี้เกียจเมื่อต้องกลับมาทำงาน

Share on