[บทความนี้ อาจยกตัวอย่างผู้เล่นเวทในห้องเวทเทรนนิ่ง หรือฟิตเนสเซ็นเตอร์เป็นหลัก แต่หลักการต่างๆ ที่เอ่ยถึงสามารถนำมาประยุกต์กับผู้ออกกำลังกายที่บ้านด้วยเครื่องยิมส่วนตัวเช่นกัน]
ผมมองผู้เล่นเวทมือใหม่ที่ก้าวเท้าเข้ามาในห้องเวท ด้วยความรู้สึกสองขั้ว
ขั้วบวกคือ ชื่นชมที่ผู้นั้นมีความคิดพัฒนาตนเอง (ทางกายภาพ) ออกกำลังให้ร่างกายของตนดีขึ้น แข็งแรงขึ้น ดูดีขึ้น อุปมาอุปมัย เสมือนคนไม่รู้หนังสือก้าวเข้าห้องสมุด หรือห้องเรียน เพื่ออ่านหนังสือให้ออก เขียนหนังสือให้เป็น ในที่นี้อาจหมายถึง คนอ้วนต้องการลดน้ำหนัก คนผอมต้องการให้มีกล้ามเนื้อ นักกีฬาที่เล่นเวทเจาะจงเพื่อฝึกฝนกีฬานั้นๆ หรือผู้สูงอายุที่ต้องการไม่เหี่ยวเฉากับการอยู่เฉยๆ ฯลฯ
แต่เมื่อผู้นั้นก้าวเข้ามาในห้องฟิตเนสแล้วผมก็จะมีความรู้สึก [แต่ก็กับบางคนเท่านั้น ไม่กับทุกคน] เป็นขั้วลบ ถ้าผู้นั้นไม่ศึกษาให้เข้าใจถึงการเล่นเวทเทรนนิ่ง เพราะ การเล่นกล้ามนั้นมีหลักเบื้องต้นง่ายๆ ที่ไม่เกินความสามารถคนทั่วไป
มัวแต่เล่นผิดเล่นถูก เสียเวลา เสียโอกาส เสียความตั้งใจ มากกว่า ได้ไม่คุ้มเสีย
ผมสรุปข้อผิดพลาดของนักเล่นเวทเทรนนิ่งมือใหม่ไว้สี่ประการ คือ
ซึ่งจะขยายความดังต่อไปนี้
คงจะเคยเห็นกัน คนเล่นที่ออกกำลังจับตัวโน้น เล่นตัวนี้ สลับผลัดเปลี่ยนเครื่องเล่นไปเรื่อยๆ ไม่มีทิศทาง [จะมีข้อยกเว้นก็เพียงมือใหม่จริงๆ เล่นวันแรกๆ ที่จะไม่เจาะจงกล้ามเนื้อ หรือท่าเล่น คือเล่นหลากหลายให้กล้ามเนื้อปรับดัว อีกกรณีหนึ่งคือผู้ที่เล่นเวทมาก่อน แต่หยุดการเล่นไประยะหนึ่ง แล้วกลับมาเล่นใหม่วันแรก ต้องออกกำลังให้หลากหลายให้กล้ามเนื้อปรับตัวเช่นกัน]
แล้วคงจะเห็นบ่อยๆ เล่นเวทหนึ่งเซต หายไป 10 นาที แ ละกลับมาก็ไปเล่นอีกแต่เป็นท่าอื่น แล้วก็หายตัวไปอีก จับโน่นจับนี่ ออกกำลังไม่เป็นชิ้นเป็นอัน ผมเล่นไปแล้ว 10 เซท เขาเพิ่งเเล่นได้ 3 เซ็ท
การกำหนดวัน-เวลาที่แน่นอน หรือค่อนข้างแน่นอน(ยืดหยุดได้ตามสถานการณ์) จะทำให้เราทุ่มเทพลังกายและใจออกกำลัง 100% ในหน้าต่างเวลานั้นๆ เพื่อการเล่นเวทดังกล่าว และมีเวลาที่จะทำกิจกรรมอื่นๆ (เพราะชีวิตมีหลายมิติ) ได้อีก
คือ เล่นท่าออกกำลังกายที่ผิดรูปผิดฟอร์ม หรือไม่ก็หนักเกินตัว ทั้งๆที่ท่าเล่นพื้นฐานต่างๆไม่ได้ยากเย็นประการใด
ยกตัวอย่าง การเล่น Tricep Pressdown (ออกกำลังหลังแขนด้วยเคเบิ้ล) ต้องตั้งลำตัวค่อนข้างตรงตรง ต้นแขนและข้อศอกแนบลำตัว ข้อศอกอยู่นิ่ง เคลื่อนไหวเฉพาะจากข้อศอกถึงข้อมือ แต่เล่นกับผิดๆ เห็นเป็นประจำ คือแยกข้อศอกจากลำตัว โน้มตัวไปข้างหน้ามากเกินไป ยกแฮนด์สูงเกินไป กดแฮนด์ลงต่ำเกินไป กลายเป็นเป็นท่าเล่นหน้าอกส่วนล่าง (Decline Chest Press) แต่เป็นการยืนเล่น ซึ่งเป็นกำเนิดของท่าออกกำลีงใหม่ Standing Decline Chest Press!!!!
หรือก็การเล่น Bent-over Row (บริหารหลังบนส่วนกลาง) ลำตัวต้องโน้มไปข้างหน้า ตั้งองศาไม่เกิน 45 องศากับพื้นดิน หลังเกร็งและตรง ดึงบาร์เบลเข้าหาซี่โครงซี่ล่างในแนวตรง 90 องศากับพื้นดิน แต่ก็เห็นเล่นผิดๆ ตั้งลำตัวเกือบตรง โน้มตัวเพียงเล็กน้อย งอเข่าเพียงเล็กน้อย และดึงบาร์เบลในแนวเฉียน ขนาดกับต้นขา
หรืออีกก็ เป็นการเล่นกล้ามเนื้อเล็กไปหากล้ามเนื้อใหญ่ ซึ่งตามหลักต้องออกกำลังกล้ามเนื้อใหญ่ก่อน (เช่น หน้าอก chest) เสร็จแล้วค่อยไปเล่นกล้ามเนื้อเล็ก (เช่น หน้าแขน bicep หรือหลังแขน tricep) ไม่ใช่เล่น Tricep Pressdown แล้วค่อยไปเล่น Lat Pulldown
จะถูกแบ่งออกไป คือ พักนานเพราะคน และพักนานเพราะของใช้
อีกอย่างหนึ่ง อุปกรณ์เพาะกายไม่ใช่เฟอร์นิเจอร์ เมื่อเล่นเสร็จควรลุกขึ้นยืน จะเล่นอีกก็ค่อยนั่งอีกที ต้องไม่นั่งแช่ [ข้อยกเว้นคือ เป็นห้องเวทส่วนตัวที่บ้าน เพราะเป็นของเราเอง หรือในกรณีอยู่ฟิตเนสเซ็นเตอร์ คือไม่มีผู้อื่นอยู่ในห้องเลย หรือมีแต่อยู่คนละฟากฝั่งของห้อง]
ออกกำลังแต่ละเซทพักได้ 1-2 นาที ไม่ควรนานกว่านั้น
การกำหนดเวลาที่แน่นอน หรือค่อนข้างแน่นอน จะทำให้เราทุ่มเทพลังกายและใจ 100% ในหน้าต่างเวลานั้นๆ ให้กับการเล่นเวทดังกล่าว และมีเวลาที่จะทำกิจกรรมอื่นๆ (เพราะชีวิตมีหลายมิติ) ได้อีก
ไม่ได้หมายถึงว่าเป็นจอมยุทธฝ่ายอธรรมในบู้ลิ้มที่มีจิตใจโหดเหี้ยมไร้ปราณีนะครับ แต่หมายถึงขาดความมุ่งมั่น ความตั้งใจ และวินัยที่จะนำพาให้บรรลุเป้าหมายได้
นักเล่นเวทเทรนนิ่งต้องเข้าใจว่า ต้องรักษาสมดุลย์ระหว่างความมุ่งมันตั้งใจ กับความหวังผลเร็วเกินไป
ถ้าก้าวข้ามความรู้สึกที่เป็นภาระ หรือธุระ กับการเล่นเวทได้ เสมือนเป็นเรืองปกติที่ต้องทำประจำวัน วันนั้นเราได้บรรลุเป้าหมายการเล่นกล้ามไปแล้วครึ่งทาง